** คำขวัญอำเภอเสนา หลวงพ่อปานเป็นศรี ทุ่งเสนาเขียวขจี หัตถกรรมมากมี ตลาดดีบ้านแพน **

ตำนานบ้านแพน


ย่านแหล่งแห่งที่ภายในอำเภอเสนา ล้วนมีชื่อแตกต่างกันไป และล้วนบ่งบอกความหมายในตัวเอง โดยเฉพาะที่มาของบ้านแพน แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน แต่ตำนานท้องถิ่นที่คนรุ่นเก่าได้รับรู้และบอกเล่าเป็นเรื่องราวสืบต่อกันมา ล้วนมีคุณค่าอันมีประโยชน์ต่อท้องถิ่นโดยรวม
ตามตำนานบอกว่า แต่เดิมมีสำเภาใหญ่ล่องมาทางคลองรางจระเข้ โดยหารู้ไม่ว่า บริเวณปากคลองนี้มีกระแสน้ำวนเชี่ยวกราก สำเภาจึงเสียการทรงตัวกระแทกเข้าริมตลิ่งแล้วบ่ายหัวไปอีกทาง กระทบกระทั่งทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างไร้ทิศทาง จนเรือล่วงเข้าสู่ท้ายคลองจึงจมลงอย่างสงบนิ่ง มีเพียงเสากระโดงโผล่ขึ้นเหนือน้ำ ส่วนข้าวของและสัมภาระที่ติดมากับเรือต่างลอยกระจายอยู่ทั่วไป

ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ ต่างเข้าช่วยตามกำลัง ส่วนหนึ่งลากเอาเสื่อลำแพนที่ลอยไปติดเนินดินขึ้นตากจนแห้ง ภายหลังจึงเรียกชื่อแห่งนั้นว่า ”บ้านแพน” ส่วนเสื่อกกที่ลอยไปติดใกล้โคกใหญ่ชาวบ้านได้ช่วยกันนำตากบนโคก จึงเรียกบริเวณนั้นว่า “โคกเสื่อ”

ส่วนพ่อค้านายสำเภา หลังจากเรืออับปาง ก็ตัดสินใจสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นจุดเตือนใจในสัจธรรมของชีวิต และได้นำเสากระโดงเรือตั้งไว้เป็นสัญลักษณ์ แล้วขนานนาม “วัดเสากระโดงทอง” ภายหลัง “เสา” หายไป ชาวบ้านจึงเรียกชื่อ “วัดกระโดงทอง” มาจนทุกวันนี้

บริเวณที่นำเสื่อลำแพนไปตากนั้น…เป็นพื้นที่ในการครอบครองวัดแห่งหนึ่งซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดจันทรคูหาวาส” และภายหลังชาวบ้านได้เรียกชื่อเป็น “วัดบ้านแพน” ส่วนเนินดินนั้นเมื่อสายน้ำเปลี่ยนทิศทางผ่านมายังจุดนั้นจึงกลายเป็นชุมทางเรือและการค้าขายปัจจุบันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสนา

ส่วนโคกเสื่อ เป็นพื้นที่ของวัดที่สร้างมาสมัยอยุธยาเช่นกัน โดยยังคงปรากฎเค้ารอยของวิหารเก่าแต่มีการบูรณะขึ้นใหม่ ภายหลังคนทั่วไปจึงเรียกชื่อวัดตามชื่อเหตุการณ์และเพี้ยนมาเป็น “วัดโคกเสือ” ในปัจจุบัน

สำหรับวัดกระโดงทอง มีหลักฐานการสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือราวปี พุทธศักราช 2400 และได้รับพระราชวิสุงคามสีมาปีพุทธศักราช 2473

คลองเจ้าเจ็ด

คลองเจ้าเจ็ดสายน้ำที่บรรจบกับแม่น้ำน้อยสายเก่าเป็นเส้นทางน้ำที่มีส่วนตรงและคดเคี้ยวเป็นคุ้งโค้งอย่างงดงาม คลองสายนี้เคยเรียงรายไปด้วยเรือนแพทรงไทยที่ครั้งอดีตชาวเสนาเคยใช้ชีวิต สายน้ำเส้นนี้ถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงให้คนอย่างน้อยถึง 2 ตำบล คือเจ้าเจ็ดและเจ้าเสด็จ

ไม่มีใครรู้จริงว่า ชื่อ “เจ้าเจ็ด” มีความเป็นมาอย่างไร แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ต่างบอกเล่ากันเป็นสองนัยน์ นัยน์หนึ่งว่าแหล่งย่านนี้เคยเป็นที่ประทับของพระราชวงค์ชั้นสูงแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวลี้ภัยหลังเสียกรุง

อีกนัยน์หนึ่งว่า เพราะความอุดมของสายน้ำจนเกิดความยิ่งใหญ่ในฐานะอู่ข้าวอู่น้ำถึงเจ็ดประการ เป็นต้นว่าลำคลองเจ้าเจ็ดเป็นแหล่งรวมของหนุ่มสาวที่มักชอบล่องเรือมาที่ไกล ว่ากันว่ามีทั้งชาวสุพรรณ ชาววิเศษชัยชาญ ชาวเมืองนนท์ และชาวลำลูกกาทางเมืองปทุม จนกลายเป็นที่พบปะสังสรรค์ของหนุ่มสาวสมัยนั้น ส่วนที่เหลือได้แก่ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านน้ำ นาข้าว ปลา และกุ้ง เมื่อรวมกับหนุ่มสาวจึงแสดงถึงความสมบูรณ์ถึงเจ็ดประการ

ภายหลังชื่อของเจ้าเจ็ดได้ถูกนำไปใช้ในหลายแห่ง เช่น วัดเจ้าเจ็ดใน วัดเจ้าเจ็ดนอก ตำบลเจ้าเจ็ด และปัจจุบันเทศบาลตำบลเจ้าเจ็ด ซึ่งตั้งอยู่กลางเกาะที่ถูกล้อมรอบด้วยคลองเจ้าเจ็ด และได้ใช้ภาพของ หนุ่ม สาว น้ำ นา ข้าว ปลา และกุ้ง มาเป็นสัญลักษณ์ของเทศบาลด้วยเช่นกัน

ส่วนตำบลเจ้าเสด็จ ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือตำบลเจ้าเจ็ดขึ้นไป มีที่มาของการตั้งชื่อจากการเสด็จประพาสทางชลมารคของพระมหากษัตริย์ไทยใน 2 คราวด้วยกัน โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2466 คราวนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสผ่านตามลำคลองเจ้าเจ็ด ด้วยมีพระราชประสงค์จะพบพระสหายที่เมืองสุพรรณ ระหว่างทางได้ทรงประทับเพื่อผ่อนคลายพระอิริยาบท บริเวณคุ้งน้ำที่ภายหลังเรียกกันว่า “คุ้งโพล้เพล้ หรือ คุ้งอ้ายเพล้” ปัจจุบันอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลเจ้าเสด็จ ก่อนเสด็จต่อไปยังเมืองสุพรรณ


วิถีชีวิตของชาวบ้านแพน


วิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นบ้านจะอยู่ตามริม แม่น้ำ ประชาชนบางส่วนอาศัยอยู่บนแพโดยแพทำจากลำไม้ไผ่มามัดรวมกัน แล้วนำไม้กระดานมาปูทับเป็นพื้นบ้านหลังคาทำจาสังกะสีหรือใบจาก ประชาชนบางส่วนอาศัยอยู่บนบก เป็นบ้านไม้สองชั้นเรียงติดกันเป็นแถวอยู่ริมแม่น้ำรียกว่า ตึกแถว หรือในบ้างทีก็ปลูกบ้านแบบยกใต้ถุนสูงหรือทรงไทย ทรงไทยส่วนใหญ่จะมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลาและอยู่กันอย่างพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และ อยู่กันอย่างครอบครัวใหญ่

ด้านอาชีพ

ตลาดการค้าขายต่างๆนั้นส่วนมากจะอยู่ในน้ำ การค้าขายคึกคัก มีแม่ค้าเป็นจำนวนมากของทีนำมาขายนั้นจะมาจากบ้านของตนเองเช่น พืชผักก็จะปลูกเอง ไม่ได้รับมาขายเหมือนอย่างสมัยนี้ บริเวณประตูน้ำเจ้าเจ็ด ก็จะมีเรือมารอผ่านประตูจำนวนมาก ในลำคลองจึงเต็มไปด้วยเรือของแม่ค้าจากต่างที่ อาหารการกินนั้นก็จะกินแต่ปลาที่หาได้ในแม่น้ำไม่มีน้ำมันพืชหรือน้ำมันปาล์มเหมือนอย่างสมัยนี้ แต่จะใช้ส่วนที่เหลื่อของการทำปลานั้นคือหัวปลาสามารถนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมันปลาสามารถนำใช้ในครัวเรือนได้ แต่จะมีข้อเสียคือจะเกิดกลิ่นเหม็นหืน การทำในแต่ละครั้งจึงทำแต่ทีละน้อย

อาชีพส่วนมากในสมัยนั้นเป็นอาชีพเกษตรกรรม จะทำนากันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะเรียกญาติมาช่วยกันเกี่ยวเรียกว่า ลงแขก

แต่ก่อนผู้คนส่วนใหญ่จะค้าขาย ขายผ้า ตัดเสื้อผ้า ปัจจุบันยังมีอยู่เป็นบางร้านริมฝั่งแม่น้ำในอำเภอเสนา สมัยก่อนมีความเป็นอยู่ลำบาก แต่ก่อนก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด แต่ก่อนนั้นสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสิ่งเจือปน ทำให้ผู้คนสมัยนั้นมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว จะแตกต่างกับสมัยนี้ที่มีแต่ยาฆ่าแมลง สารปนเปื้อนหลายๆ ชนิด ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เป็นโรคกันได้ง่าย สุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บป่วยง่าย สมัยนั้นผู้คนจะเยอะจะมาทำการค้ากันที่อำเภอเสนา ตลาดเสนาก็จะมีแหล่งของขายมากมาย ผู้จนส่วนใหญ่ก็จะมากพบปะพูดคุยกัน รายได้สมัยนั้นจากการขายพออยู่ได้ เป็นการค้าที่สบายๆ คนส่วนใหญ่ก็พอจะค้าขายได้ไม่เหมือนกับสมัยนี้ สมัยนั้นคนส่วนใหญ่ไม่มีไปตามทำงานกับนายจ้าง ส่วนมากจะค้าขาย อาชีพที่ทำนั้นพออยู่ได้

ด้านการคมนาคม


สมัยนั้นมีเรือรับจ้างมาก จะมีเรือหางยาววิ่งระหว่างตำบลกับอำเภอ แต่ก่อนจะมีท่าเรือเขียว ท่าเรือแดง ท่าเรือขาว ชาวเสนาก็จะไปซื้อของที่กรุงเทพมาขาย ราคาของเรือก็จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของเรือ เรือใหญ่ราคาจะอยู่ที่ 20 บาท เรือด่วนราคาจะอยู่ที่ 40 บาท จะมีเรือวิ่งทั้งกลางวันและกลางคืน ท่าเรือสายบางซ้าย-สุพรรณ คนจะมาเยอะ และคนก็จะมาลงที่อำเภอเสนา อำเภอเสนาถือเป็นอำเภอที่มีเจริญรุ่งเรืองในอดีตเป็นอำเภอที่รองมาจากอำเภอพระนครศรีอยุธยา ตามท่าเรือก็จะร้านค้ามากไม่ว่าจะเป็นท่ากาแฟ ท่าก๋วยเตี๋ยว

ด้านเศรษฐกิจ


สมัยนั้นเศรษฐกิจไม่ถึงกับดีแต่พอใช้ได้จะแตกต่างกับสมัยนี้อย่างสิ้นเชิงคนสมัยนั้นใช้จ่ายไม่ฟุ่มเฟือย บางบ้านมีการเก็บหอมรอบริบทำให้มีเงินใช้ คนส่วนจะใช้น้ำจากน้ำประปา น้ำประปาเพิ่งเริ่มจะเข้ามามีเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน ผู้คนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นมีการเป็นหนี้กันมาก เนื่องจากต้องนำเงินมาลงทุนค้าขาย เงินที่ได้จะกู้มาจากธนาคารเป็นส่วนใหญ่ สมัยนั้นมีการเล่นการพนันน้อย



ด้านลักษณะสังคม

สังคมในสมัยนั้นอยู่แบบสบายๆ รวมกุล่มกัน ชาวบ้านมีความช่วยเหลือพึ่งพากันดี รู้จักกันตามแถวๆ หมู่บ้าน สมัยนั้นการจี้ปล้นน้อยเรียกว่าแทบจะไม่มีก็ว่าได้ ส่วนใหญ่จะอยู่กันแบบครอบครัว

ด้านสาธาณสุข

สมัยนั้นคนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเป็นโรค จะเป็นก็แค่โรคหวัด ไม่สบาย นิดหน่อย สมัยนั้นจะมีแต่สุดศาลาที่เป็นการดูแลเวลาเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ แต่ก่อนก็จะมีอำเภอ สถานที่ตำรวจ ธนาคาร ไปรษณีย์ เทศบาลเสนาพึ่งจะเริ่มมีประมาณ 40-50 ปีก่อน จะมีสโมสร สนามบาส คนสามารถเดินไปเที่ยวกันได้ สมัยนั้นจะมีถนนดิน พอสำหรับเดินไปไหนมาไหนได้ไม่ไกล สมัยนั้นชาวบ้านจะมีการถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระตามบ้านของตนเอง เวลาเจ็บป่วยแล้วจะนำส่งคลินิกแต่ก่อนนั้นจะมีคลินิกไม่มีโรงพยาบาล มีแต่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เวลาไปก็จะต้องนั่งเรือไปหรือเหมาเรือกันไป

สมัยนั้นจะมีร้านยาอยู่ไม่กี่ร้าน จะมีร้านเจ๊กซา คนสมัยนั้นไม่ค่อยมีโรค จะมีการกินที่ดี สะอาดและปลอดภัย ในสมัยนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ก็จะใช้ตะเกียง โดยใช้ไต้เป็นเชื้อเพลิงในการให้แสงสว่างโดยการใช้ เหล็กไฟซึ่งประกอบด้วย แท่งเหล็ก หิน ก้านโสน นำแท่งเหล็กมาถูกับหิน จนเริ่มเกิดประกายไฟและใช้ก้านโสนมาต่อหรือใช้เทียนแต่เทียนในสมัยก่อนนั้นไม่มีขายแต่จะมีคนขับเรือมาตามบ้านแล้วมาทำเทียนตามบ้านนั้นคราวละมากๆ แล้วก็จะมีชาวบ้านมารับซื้อไปใช้ ต่อมาเริ่มมีไฟฟ้า จะมีโรงปั่นไฟฟ้า เพื่อใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือน การทำกับข้าวในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้ถ่านเป็นส่วนมาก ทำให้คนในสมัยก่อนลืม เมื่อเวลาทำกับข้าวไปวัด พอกับมาไปไฟไหม้บ้าน เนื่องจากถ่านจะไม่ดับสนิท ให้บ้านของชาวบ้านเดือดร้อนกันเยอะ

ด้านการสื่อสาร

สมัยนั้นการติดต่อสื่อสารสำหรับคนที่อยู่ไกลๆจะใช้เรือ สมัยนั้นจะมีโทรเลขด้วย ชาวบ้านจะรับฟังข่าวสารจากโทรทัศน์เครื่องเล็กๆ วิทยุตามหมู่บ้าน โทรทัศน์หรือวิทยุแต่ละบ้านจะมีเพียงไม่กี่หลังบางบ้านก็ไม่มี

ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น

ศาสนาในสมัยก่อนผู้คนส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธจะมีนับถือจีนเป็นบางส่วนวัฒนธรรมแต่ก่อนมีความสนุกสนานเป็นอย่างมากเป็นอะไรที่เรียบง่าย เวลาถึงวันสำคัญๆหนุ่มสาวมักจะไปเที่ยวกันตามวัด จะแตกต่างกับสมัยนี้มาก มีการละเล่นที่สนุกสนาน ไม่มีการใช้ความรุนแรง งานวัดใหญ่ๆจะไปเที่ยวกันตามวัดบางนมโค วัดเกาะ วัดหัวเวียง งานวัดส่วนใหญ่ก็จะมีลิเก ดนตรี หนังกลางแปลง จะมีงานประจำปี อำเภอจะเป็นคนจัดขึ้น จะมีการละเล่นต่างๆ รำวง อย่างสนุกสนาน