** คำขวัญอำเภอเสนา หลวงพ่อปานเป็นศรี ทุ่งเสนาเขียวขจี หัตถกรรมมากมี ตลาดดีบ้านแพน **

ประวัติอำเภอเสนา


ประวัติของอำเภอเสนา

ความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญ

จากคำบอกเล่า ของนายสมพงษ์ ตรีสุขี อายุ 86 ปี (อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และส่วนหนึ่งนำมาจากบรรยายสรุปของอำเภอเสนาปี พ.ศ.2529

1.สมัยกรุงศรีอยุธยา

แต่เดิมอำเภอเสนา เป็นชุมชนหนาแน่น แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการแบ่งการปกครองของกรุศรีอยุธยาเป็น 4 แขวง คือ

1.แขวงขุนนคร

2.แขวงขุนนครอุไทย

3.แขวงขุนเสนา

4.อีกแขวงหนึ่งนั้น ไม่ปรากฏแน่ชัด เพียงแต่ทราบว่าเป็นแขวงรอบบริเวณที่ตั้งกรุงศรีในปัจจุบันนี้สำหรับอำเภอเสนา เป็นส่วนหนึ่งของแขวงขุนเสนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อำเภอเสนา ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในวันศุกร์ เดือน 5 ขึ้น 6 ค่ำ ปี พ.ศ. 1893 พระราชทานนามว่า “กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์”

2.สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็แบ่งการปกครองเป็น 4 แขวง ตามเดิม คือ

1.แขวงนคร

2.แขวงอุไทย

3.แขวงเสนา

4.แขวงรอบกรุง

ได้มีการแบ่งเขตการปกครองเช่นนี้ตลอดมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้มีผลการเปลี่ยนแปลงแบ่งขอบเขต ให้เล็กลงไปอีก คือ

1.แขวงนคร แบ่งเป็น นครใหญ่(ซีกซ้าย) นครน้อย(ซีกขวา)

2.แขวงเสนา แบ่งเป็น เสนาใหญ่(ด้านเหนือ) เสนาน้อย (ค้านใต้)

อำเภอเสนา เป็นส่วนหนึ่งของแขวงเสนาใหญ่ ครั้นต่อมาในสมัยปี พ.ศ.2438 ซึ่งเป็นสมัยระยะเริ่มจัดกี่แบ่งเขตการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงดำริเห็นว่าแขวงเสนา แม้จะแบ่งขอบเขตออกเป็นแขวงเสนาใหญ่ เสนาน้อย แล้วก็ตามยังปรากฏว่ามีผลเมืองมาก ท้องที่กว้า จึงให้ผู้รักษากรุงจัดการบ่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจึงแบ่งดังนี้

1.แขวงเสนาใหญ่ แบ่งเป็น 2 ตอน

ก. ตอนเหนือ เรียกว่า อำเภอเสนาใหญ่ แล้วต่อมาก็เป็นอำเภอผักไห่

ข. ตอนใต้ เรียกว่า อำเภอเสนากลาง ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นอำเภอเสนา คืออำเภอเสนาในปัจจุบันนี้

2.แขวงเสนาน้อย แบ่งออกเป็น 2 ตอน

ก. ตอนเหนือ แบ่งจากเขตเสนาใหญ่บางส่วน ตอนตะวันออกกับเสนาน้อย ทิศเหนือบางส่วนรวมเรียกว่า เสนาใน คืออำเภอบางบาลในปัจจุบัน

ข. ตอนใต้ เรียกว่า เสนาน้อย คืออำเภอบางไทรปัจจุบันนี้

ฉะนั้นอำเภอเสนาในปัจจุบันได้แยกออกมาเป็นเขตอำเภอเสนา จากแขวงเสนาใหญ่ และแขวงเสนากลาง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคของการปฏิรูปหรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย ซึ่งมูลเหตุสำคัญของการปฏิรูป ในรัชสมัยของพระองค์สืบเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ

สภาพการเมือง การปกครองในประเทศแบบเดิมที่ล้าสมัยไม่เหมาะสมต่อสภาวการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงและคุกคามของอำนาจตะวันตกในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคืออังกฤษได้เข้าประชิดพรมแดนไทย ด้านตะวันตกและด้านใต้ ส่วนฝรั่งเศสได้เข้าประชิดพรมแดนไทย ด้านตะวันออกปัจจัยดังกล่าวได้เร่งเร้าให้เกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2435 และดำเนินการปกครองหัวเมืองต่างๆแบบเทศาภิบาล จัดตั้งเทศาภิบาลขึ้นใน พ.ศ. 2437 เพื่อสร้างเอกภาพทางการปกครอง และรักษาเอกราชของประเทศให้พ้นจากภัยคุกคาม ของมหาอำนาจตะวันตก โดยมีการวางแผนการปกครองทั่วราชอาณาจักรสืบเนื่องกัน จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้มีการยุบเลิก แต่หลักการปกครองหัวเมือง

บางประการก็ยังคงอยู่ ดังนั้นการปกครอง มณฑล เทศาภิบาล จึงนับได้ว่ามีความสำคัญ ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

เมื่ออำเภอเสนา ได้จัดตั้งขึ้นในสมัยมณฑลเทศาภิบาล โดยขึ้นอยู่กับมณฑล กรุงเก่า(ภายหลัง เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) มี 8 เมือง ได้แก่ กรุงเก่า พระพุทธบาท พรหมบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอินทร์บุรี มีที่ตั้งบัญชาการอยู่ที่เมืองกรุงเก่า คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ มณฑลกรุงเก่าได้รับการจัดตั้งเมืองเดือน มกราคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ.114)

หน่วยราชการในมณฑลระดับถัดลงไป จากเมืองคือ แขวงหรืออำเภอกระทรวงมหาดไทย ได้วางเขตอำเภอตามพระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 อำเภอ สำหรับอำเภอเสนาที่ได้จัดตั้งในสมัยมณฑลเทศาภิบาล ได้จัดรูปการปกครองโดยแบ่งการปกครองเป็น 28 ตำบล คือ ตำบลเสนา ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลกลางคลอง ตำบลคลองขวาง ตำบลเจ้าเจ็ดชายนา ตำบลเต่าเล่า ตำบลบางกระทิง ตำบลบางซ้ายนอก ตำบลบางซ้ายใน ตำบลบางนมโค ตำบลบ้านแถว ตำบลบ้านแพน ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลเทพมงคล ตำบลบ้านหลวง ตำบลบ้านใหญ่ ตำบลปลายกลัดนอก ตำบลปลายกลัดใน ตำบลปลายนาใต้ ตำบลปลายนาเหนือ ตำบลมารวิชัย ตำบลรางจระเข้ใต้ ตำบลรางจระเข้เหนือ ตำบลลาดงา ตำบลสามตุ่ม ตำบลหัวเวียง ตำบลบ้านขนมจีน

การจัดรูปแบบการปกครองตำบลมีตำแหน่งกำนัน หรืผู้ใหญ่บ้าน เป็นหัวหน้าหน่อยการปกครอง วิธีการจัดตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก่อนสมัย รัชกาลที่ 5 ให้จัดตั้งจากบุคลที่มีความซื่อสัตย์ มั่นคงดี เป็นผู้ใหญ่บ้านที่พอจะว่ากล่าวบังคับราษฎรได้ แต่ต่อมาได้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน คงมีแต่กำนัน ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของกำนันบกพร่องไปด้วยเนื่องจากขาดผู้ช่วยคอยดูแลทุกข์สุขของราษฎร ในท้องที่ และเขตท้องที่ภายในตำบลหนึ่งๆ ก็กว้างมากเกินกำลังคนเดียวที่จะปกครองข้อบกพร่องดังกล่าวได้รับการแก้ไข ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริควรที่จะเริ่มจัดการให้มีการลองจัดตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเอง โดยได้ทรงมอบหมายให้ หลวงเทศาจิตวิวารรี(เส็ง วิริยศิริ)ไปทดอง เลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เกาะบางประอินเป็นการทดลองก่อซึ่งผลการทดลองเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่บางประอินนับว่าประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ มณฑลอยุธยา

เป็นมณฑลแรกที่ได้จัดการทดลองเลือกกำนันและผู้ใหญ่ ในด้านการป้องกันรักษาความสุขของราษฎรในรูปการปกครองท้องถิ่น ได้มีการประกาศราชกิจจาอุเบกขา

ยกฐานะท้องที่บางส่วนของอำเภอเสนาเป็นเขตเทศบาล คือบางส่วนของตำบลเสนากลางคลองปลายนาใต้ และบ้านแพ เรียกว่าเทศบาลเมืองเสนาครั้งนั้นเทศบาลมีเนื้อที่ 5 ตารางกิเมตร (ราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ 14 มีนาคม 2480 หน้า 181)

ต่อมาปี 2486 สมัยมีปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบ ประจำตำบลได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตตำบลเสียใหม่ โดยถือเขตธรรมชาติ คือ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ปลัดอำเภอรับผิดชอบประจำทำงานได้สะดวก และลดตำบลเหลือ 17 ตำบล คือ ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลเจ้าเจ็ด ตำบลชายนา ตำบลบางนมโค ตำบลบ้านแถว ตำบลบ้านแพน ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลรางจระเข้ ตำบลลาดงา ตำบลหัวเวียง ตำบลสามกอ ตำบลเทพมงคล ตำบลบางว้าย ตำบลเต่าเล่า ตำบลปลายกลัด ตำบลมารวิชัย และตำบลสามตุ่ม

ครั้นปี 2491 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะ ตำบลเทพมงคล ตำบลเล่าเต่า ตำบลบางซ้ายตำบลปลายกลัด ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอบางซ้าย และขึ้นกับ อำเภอเสนา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2497

ในขณะนั้น อำเภอเสนา มีตำบลในเขตการปกครอง 13 ตำบล

1.อำเภอเสนามีตำบลในเขตการปกครอง 13 ตำบล

2.กิ่งอำเภอบางซ้าย มีตำบลในเตการปกครองเดิม 4 ตำบล ต่อมาโอนบางส่วนของตำบลบ้านแถวไปยกฐานะเป็นตำบล เรียกว่า ตำบลแก้วฟ้า จึงมีเขตการปกครอง 5 ตำบล

3.เทศบาลเมืองเสนา ๗งเป็นสถานที่ ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภอเสนาด้วย

อดีตสู่ปัจจุบัน

อำเภอเสนา มีประวัติความเป็นมายาวนาน คบคู่กับกรุงศรีอยุธยา คำว่าเสนา คงมีมานานการแบ่งเขตการปกครองของกรุงศรีอยุธยา โดยแขวงขุนเนา เป็น 1 ใน 4 แขวง เขตการปกครองภายนอกกำแพงเมืองของกรุงศรีอยุธยา(คำว่า เสนา พจนานุกรมฉบับบัณฑิตสถาน ให้ความหมายว่า เสนา หมายถึง กองทัพ หาร การตรวจวัดที่นา) ตลอดดะยะเวลา417ปี ของกรุงศรีอยุธยา อำเภอเสนา ก็คงอยู่ในเหตุการณ์การสู้รบซึ่งต้องเผชิญกับการทำสงครามหลายครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน

ประวัติที่ตั้งที่ว่าอำเภอเสนา ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสนาเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของลำคลองปลายนา ตำบลปลายนา ตั้งแต่เดิมคลองปลายนานี้เป็นตัวลำแม่น้ำน้อย ครั้นต่อมาประมาณ 60 ปี ก็เกิดตื้นเขินไม่สะดวกแก่การเดินเรือ เพราะน้ำในแม่น้ำน้อยได้เปลี่ยนกระแสทางเดินไหลตามลำรางเล็กๆซึ่งเชื่อมระหว่างแม่น้ำน้อยตอนใต้เป็นข้อศอก น้ำได้เซาะแรงขึ้นทุกปีจนกลายเป็นคลองสายใหญ่ ส่วนลำแม่น้ำน้อยเดิมตื้นเขิน เรือจึงเดินตามกระแสน้ำที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ชุมชนก็ย้ายมาตั้งตรงทางสามแยกคลองใหม่ ซึ่งห่างจากเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร ฉะนั้น ในปี 2449 ทางราชการจึงย้ายที่ว่าการอำเภอ จากที่ตั้งเดิมมาตั้งในที่ดินของวัดบ้านแพน ตำบลเสนา ริมฝั่งขวาขอแม่น้ำน้อยซึ่งเป็นทางสามแยกระหว่างแม่น้ำน้อยกับคลองปลายนา แต่ตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว และเป็นแบบเก่า และได้ทรุดโทรมไปตามสภาพ ที่มีอายุประมาณ 80 ปีเศษ ในปัจจุบันด้วยความร่วมมือร่วมใจระหว่างทางราชการและภาคเอกชน จึงได้รื้อที่ว่าการอำเภอหลังเก่าแล้วสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่มีลักษณะเป็นตึก 2 ชั้น ใช้งบประมาณก่อสร้าง 2,850,000 บาท เป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรกรมการปกครอง 2,050000 บาท และผู้บริจาคสมทบอีก 800,000 บาท เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2529 สร้างแล้วเสร็จเมื่อ ตุลาคม 2530 ที่ตั้งอำเภอเสนาตั้งอยู่ริมฝั่งใต้ของแม่น้ำน้อย และอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากจังหวัดโดยทางตรงประมาณ 19 กิโลเมตร ตามลำแม่น้ำผ่านอำเภอบางไทร-บางประอิน ถึงประมาณ 45 กิโลเมตร หรือถ้าในฤดูน้ำผ่านอำเภอบางบาลถึงจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร การเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่างๆ ได้เสด็จประพาสต้นกันบ่อยครั้ง เพื่อเยี่ยมเยียนและดูแลทุกข์สุขราษฎร์ในพระองค์ โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 จะเสด็จพระราชดำเนินผ่านตำบลอื่นๆ ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงคิดว่าคงจะมีบุคคลอื่นค้นคว้ามาอีกทางหนึ่ง

จากคำบอกเล่าของลูกหลานนายช้าง คชาธาน ซึ่งมาตั้งหลักฐานอยู่ที่สามแยก ตำบลหัวเวียง อีกส่วนหนึ่งก็ค้นคว้ามาจากหนังสือเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์โดยสมเด็จกรมยาดำรงราชานุภาพ จัดพิมพ์โดยองค์การค้าของคุรุสภา พิมพ์ พ.ศ.2521 ซึ่งบางตอนกล่าวพาดถึงตำบลหัวเวียงดังนี้

วันที่ 7 สิงหาคม ร.ศ.123 (พ.ศ.2447) กระบวนเรือใหญ่จะล่องลงมาทางบ้านเจ้าเจ็ดและบางไทรไปรถเสด็จที่บางประอิน แต่พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกระบวนต้นแยกขึ้นทางบางโผงเผงเข้าคลองบ้านกุ่มมาออกภูเขาทอง ล่องลงมาบรรจบกระบวนใหญ่ที่บางประอิน แต่จะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบเกิดพลัดกัน พระองค์ จึงคิดที่จะแวะทำครัวที่วัดใดวัดหนึ่งสักแห่ง แต่พอจะแวะก็ถูกชาวบ้าน แม้กระทั่งพระบ่นว่ากันเป็นแถว เนื่องจากขบวนเสด็จมีลูกคลื่นมา ขณะที่หาทำเลเหมาะๆ อยู่นั้น ก็พบบ้านหนึ่งที่บางหลวง

ดูมีสง่าราศี มีสะพานและโรงยาวอยู่ริมน้ำหน้าเรือนฝากระดาน จึงแวะเข้าไปไต่ถามเป็นบ้านของกำนัน แต่ตัวกำนันไม่อยู่ไปค้าข้าว อยู่แต่นายช้าง กับภรรยาชื่อยายพลับ ซึ่งเป็นพ่อตา แม่ยายของกำนัน ทั้งสองออกมาต้อนรับ โดยไม่ทราบว่าเป็นพระเจ้าอยู่หัว คิดว่าเป็นเพียงข้าราชการบริวารเท่านั้น เมื่อรับประทานอาหารกันเสร็จแล้ว นายช้างจึงปรารภว่า อยากจะได้ปืนเมาเซอร์สักกระบอกหนึ่ง ขอให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นธุระให้ด้วยจะสิ้นเปลืองเงินทองเท่าไรไม่ว่า พระเจ้าอยู่หัวก็รับปากกว่าได้ และเราก็พยายามติดตามปืนกระบอกนี้ ขณะนี้ทราบว่าตกไปอยู่ทางเหนือ อยู่ที่ (นายชัย คชาธาน ลูกชายนายช้าง ขณะนี้อยู่นครสวรรค์) ก่อนออกจากบ้านนายช้าง พระองค์ ได้พระราชทานธนบัตรจำนวนหนึ่งซึ่งใส่ซองเป็นการตอบแทนนายช้างที่ให้การต้อนรับ เมื่อเสด็จไปแล้วนายช้างก็เปิดซองดู ปรากฏว่ามีเงินอยู่จำนวน 400 บาท นายช้างจึงรู้ว่าเป็นพระเจ้าอยู่หัว ประกอบกับมีเพื่อนบ้านมาบอกว่า พวกที่มาเมื่อสักครู่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมานายช้างได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นหมื่นปฏิพัทธ ภูวนาถ และบ้านของนายช้างก็ถูกซื้อมาสร้างโรงเรียนคนจีนชื่อโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์วิทยา อยู่รงสามแยกหัวเวียง น่าเสียดายเวลานี้โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์วิทยาได้ขายให้กับผู้ซื้อของเก่าไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2524

มีอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวพันโดยตรงกับตำบลหัวเวียงคือ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2541 (ร.ศ.127) พระองค์ (รัชกาลที่ 5) เสด็จจากอำเภอผักไห่ในเวลาเช้า ลงเรือครุฑมาช่วยนายช้างและยายพลับทอดกฐินที่วัดหัวเวียง โดยทอดที่ศาลาการเปรียญ มีเครื่องบริวารคือ ตู้กระจก หมอนปัก กระเช้า ป้ายด้าย คู่สวดก็ได้ด้วยส่วนพระอันดับได้สงบและหีบระฆัง หมากพลู ธูปเทียน พระองค์ออกเงินช่วยกฐินนายช้าง 20 บาท คู่สวดองค์ละ 6 บาท อันดับองค์ละกึ่งตำลึง พอทอดวัดหัวเวียงเสร็จแล้ว จึงย้ายไปทอดวัดใหม่ (วัดบางกระทิงในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ห่างจากหัวเวียงมากนัก เป็นวัดที่สอง พิณพาทย์ไม่ได้ประโคมจนเวลาพระลง วัดนี้มีพระสงฆ์ 15 รูป เมื่อทอดกฐินเสร็จทั้งสองวัดแล้ว จึงไปทำอาหารเลี้ยงกันที่บ้านตาช้าง ตำบลบ้านหลวง